วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร


        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้      ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 65 เกี่ยวกับเงินได้พึ่งประเมิน หรือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ


ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ ประกัน Key man
         มาตรา 65 เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี และรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวให้มีกำหนดสิบสองเดือน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้จะน้อยกว่าสิบสองเดือนก็ได้ คือ (ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกก็ได้ (ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องต่ออธิบดี ขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีเช่นว่านี้ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตสุดแต่จะเห็นสมควร คำสั่งเช่นว่านั้นต้องแจ้งให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ยื่นคำร้องทราบภายในเวลาอันสมควร และในกรณีที่อธิบดีสั่งอนุญาต ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนด การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิ์และวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคสองก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )

  •  ( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 8/2528 )
  •  ( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ ป. 16/2530 ) 
  •  ( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.108/2545 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.39/2537 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.55/2538 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 ) 
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ) 
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.95/2543 ) 
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.111/2545 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.113/2545 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 ) 
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.123/2546 )
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.129/2547 ) 
  •  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.131/2548 ) 
  •  ( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่ง  เสริมการลงทุน )