วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Key man Protection



        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้

ความสำคัญของการทำประกัน บุคคลสำคัญ Key man

ความสำคัญของการทำประกัน บุคคลสำคัญ Key man
   
    ประการแรก : 
คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
     ถ้าคุณสูญเสียบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  มันอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจหรือการชะลอการเติบโตของธุรกิจของคุณ คุณอาจพบการสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจ จากพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและซัพพลายเออร์  จากการสูญเสียบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  ถ้าปล่อยให้พนักงาน ลูกค้าและซัพพลายเออร์ ติดต่อบริษัทอื่น ๆ ผลสุดท้ายในที่สุดอาจนำไปสู่​​การสูญเสียของผลกำไรและปิดกิจการได้  ด้วยการประกัน Key Man หรือประกันบุคคลสำคัญ   เป็นการจ่ายเงินที่สามารถช่วยให้คุณสามารถปกป้องธุรกิจของคุณและทำให้การที่ทำงานของคุณดำเนินต่อไปได้   ช่วยให้คุณสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมที่นำออกมาโดยบุคคลสำคัญนั้นได้  มันจะช่วยให้มีค่าใช้จ่ายในการสรรหาและการฝึกอบรมบุคคลที่จะมาทำงานแทน และจะช่วยให้คุณมีค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องในขณะที่ระดับของยอดขายขายคุณลดลง  จากการขาดบุคคลสำคัญ หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจคุณต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับ ตัวพนักงานและลูกค้า  เนื่องจากการปฏิบัติการในเชิงบวกจะถูกนำมาใช้ รองรับการทำงานภาระทางการเงินมีทางเลือกสำรองให้กับธุรกิจ  
 
    ประการที่สอง : นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท
     การทำประกันบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  บริษัทสามารถนำ ใบเสร็จ จากการทำประกันบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  มาใช้เป็นค่าใช้จ่ายขององค๋กรได้ การประกันภัยชีวิตบุคคลสำคัญ คุณสามารถเลือกทำการประกันชีวิตเพียงอย่าเดียวหรือพร้อมค่ารักษาพยาบาลจากเจ็บป่วยหรือประกันชีวิตทั้งสองอย่างก็ได้ คุณสามารถเลือกระดับที่แตกต่างของการประกันภัย ตามระดับความสำคัญของบุคคลผู้เข้าร่วมโครงการ
      การทำประกันบุคคลสำคัญ นำ ใบเสร็จ มาเป็นค้าใช้จ่ายขององค์กรได้

ความสำคัญของการทำประกัน บุคคลสำคัญ Key man

ความสำคัญของการทำประกัน บุคคลสำคัญ Key man
   
    ประการแรก : 
คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
     ถ้าคุณสูญเสียบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  มันอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจหรือการชะลอการเติบโตของธุรกิจของคุณ คุณอาจพบการสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจ จากพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและซัพพลายเออร์  จากการสูญเสียบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  ถ้าปล่อยให้พนักงาน ลูกค้าและซัพพลายเออร์ ติดต่อบริษัทอื่น ๆ ผลสุดท้ายในที่สุดอาจนำไปสู่​​การสูญเสียของผลกำไรและปิดกิจการได้  ด้วยการประกัน Key Man หรือประกันบุคคลสำคัญ   เป็นการจ่ายเงินที่สามารถช่วยให้คุณสามารถปกป้องธุรกิจของคุณและทำให้การที่ทำงานของคุณดำเนินต่อไปได้   ช่วยให้คุณสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมที่นำออกมาโดยบุคคลสำคัญนั้นได้  มันจะช่วยให้มีค่าใช้จ่ายในการสรรหาและการฝึกอบรมบุคคลที่จะมาทำงานแทน และจะช่วยให้คุณมีค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องในขณะที่ระดับของยอดขายขายคุณลดลง  จากการขาดบุคคลสำคัญ หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจคุณต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับ ตัวพนักงานและลูกค้า  เนื่องจากการปฏิบัติการในเชิงบวกจะถูกนำมาใช้ รองรับการทำงานภาระทางการเงินมีทางเลือกสำรองให้กับธุรกิจ  
 
    ประการที่สอง : นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท
     การทำประกันบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  บริษัทสามารถนำ ใบเสร็จ จากการทำประกันบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)  มาใช้เป็นค่าใช้จ่ายขององค๋กรได้ การประกันภัยชีวิตบุคคลสำคัญ คุณสามารถเลือกทำการประกันชีวิตเพียงอย่าเดียวหรือพร้อมค่ารักษาพยาบาลจากเจ็บป่วยหรือประกันชีวิตทั้งสองอย่างก็ได้ คุณสามารถเลือกระดับที่แตกต่างของการประกันภัย ตามระดับความสำคัญของบุคคลผู้เข้าร่วมโครงการ
      การทำประกันบุคคลสำคัญ นำ ใบเสร็จ มาเป็นค้าใช้จ่ายขององค์กรได้

ได้อะไรจากการประกัน Key mam

ได้อะไรจากการประกัน Key mam
  • นำใบเสร็จมาเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร
  • ทายาทของ กรรมการได้เงินก้อนโต เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ
  • ใช้เป็นสวัสดิการณ์ของ กรรมการ โดยไม่ต้องใช้เงินของบริษัทการรักษา
  • เงินก้อน กรณีบุคคบสำคัญเกิดทุพพลภาพ ทำงานไม่ได้
  • ได้รับการชดเลยรายได้ ระหว่างการเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บในโรงพยาบาล
       ค่าใช้จ่ายของการประกันชีวิตบุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)   แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับของพนักงานหรือผู้ที่ต้องการทำประกัน บุคคลที่สำคัญของธุรกิจ  ( key man)   โดยต้องผ่านวาระการประชุม  แต่ถ้าคุณไม่สามารถซื้อประกันเต็มจำนวนได้ คุณสามารถกำหนดได้ โดยอาศัยปัจจัยดังนี้
  • ผลกำไรของธุรกิจของคุณ  ผลกระทบจากการสูญเสียบุคคลสำคัญสำคัญอย่างไร 
  • หากต้องหาคนเข้ามาแทนที่ คุณจะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ในการฝึกอบรมและการเปลี่ยน? 
คำนวณเบี้ยประกัน Key man ที่เหมาะสม
  • ภาษีเงินได้ นำมาพิจารณา 10%  หารด้วย 20%
    ตัวอย่าง
    บริษัท A  มีภาษีที่ต้องชำระ 1,000,000 บาท
    นำมาคำนวณ 10% >  1,000,000 x 10% =  100,000 บาท
    หาเบี้ยประกันที่เหมาะสม 100,000 / 20% = 500,000 บาท
    ดังนั้น เบี้ยประกันที่เหมาะสม สำหรับบริษัท A อยู่ที่ 500,000 บาท ของ กรรมการทุกคน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธิติวัฒน์ วัฒนพลไพศาล ที่ปรึกษาทางการเงิน โทร 087-551554,081-6571818

ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในธุรกิจ คือการสร้างรายจ่ายให้กับธุรกิจ ในปริมาณที่เหมาะสม ถูกกฏหมายและยอมรับได้ของกรมสรรพกร


   ใบเสร็จ หรือ การลงทุนโดยสร้างรายจ่ายทั่วไปนั้น  เมือเวลาผ่านไป มูลค่าก็จะเหลือน้อยลง
เช่น      บริษัท A สร้างรายจ่าย โดยการซื้อ Computer มูลค่า 100,000 บาท หมุนเวียกับค้าใช้จ่ายอย่างอื่น เป็นเงิน 100,000 บาท/ปีเมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี ทรัพย์สินที่ซื่อมามีมูลค่าคงเหลือเพียง  10,000 บาท 


        บริษัท B  สร้างรายจ่าย โดย การลงทุนผ่าน กรมธรรม์ประกันชีวิต มูลค่า 100,000 บาท/ปี  เป็นเวลา 20 ปี เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี ทรัพย์สินเงินสดที่ลงทุนผ่านกรมธรรมื คงเหลือมูลค้าเงินสดที่ 2,000,000 บาท 


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธิติวัฒน์ วัฒนพลไพศาล ที่ปรึกษาทางการเงิน โทร 087-555-1554,081-6571818

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 48 เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้


        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้



มาตรา 48 เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
    (1) เงินได้พึงประเมินเมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 47 หรือมาตรา 57 เบญจ แล้วเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ ต้องเสียภาษีในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป )
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 376) พ.ศ.2544 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    (2) สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตาม (1) ให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(พระราชกฤษฏีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 480) พ.ศ. 2552")
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    การนับจำนวนเงินได้พึงประเมินตาม (2) ไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับปีภาษี 2522 เป็นต้นไป )
    (3) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4) (ก) และ (ช) ดังต่อไปนี้
         (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 290) พ.ศ. 2538 )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 19/2533 )
         (ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก
         (ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
    ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    (4) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังต่อไปนี้/td>
    (ก) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิแล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดคูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
(ข) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกา เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครองได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ 27 ก.พ. 2535 เป็นต้นไป )
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.100/2543 )
    ในกรณีที่เสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) เมื่อคำนวณภาษีแล้วต้องเสียไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป )
    ในกรณีที่เสียภาษีโดยนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้ตาม (ก) หรือตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตาม (ข) แล้วแต่กรณี เหลือเท่าใดนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อย่างอื่น
    คำว่า "จำนวนปีที่ถือครอง" ใน (ก) หรือ (ข) หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี และเศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ. 2525 เป็นต้นไป )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 18/2533 )
    (5) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได ้สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด โดยให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
    ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งและเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท
    จำนวนปีที่ทำงานตามวรรคหนึ่ง ในกรณีเงินบำเหน็จหรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ทางราชการจ่าย ให้ถือจำนวนปีที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณเงินบำเหน็จหรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกันนั้นตามกฎหมายระเบียบหรือข้อบังคับของทางราชการ
    ในการคำนวณจำนวนปีที่ทำงาน นอกจากกรณีตามวรรคสาม เศษของปี ถ้าถึงหนึ่งร้อยแปดสิบสามวันให้ถือเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบสามวันให้ปัดทิ้ง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
ดูประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) )
    ถ้าภาษีเงินได้ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินแล้วมีจำนวนต่ำกว่า 5 บาท เป็นอันไม่ต้องเรียกเก็บ
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18 ) พ.ศ. 2504 ใช้บังคับปีภาษี 2505 เป็นต้นไป )
    มาตรา 48 ทวิ ให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าทอดหนึ่งทอดใดหรือทุกทอดที่ซื้อสินค้าขององค์การของรัฐบาล ตามวิธีการ อัตรา และประเภทสินค้าตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้เฉพาะสำหรับเงินได้จากการขายสินค้านั้น
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับปีภาษี 2520 เป็นต้นไป )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 134 (พ.ศ. 2516) )
    ภาษีที่เสียแทนตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการคำนวณภาษี
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2525 เป็นต้นไป )ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

Key man Protection | แนวคิดทางบัญชี | กฏหมายคำสั้งสรรพกร | คำถามที่พบบ่อย | Promotion พิเศษ | เกี่ยวกับเรา



มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้



        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้   
        ประกันบุคคลสำคัญหรือ
ประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
    (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น   
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.59/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
    (2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
    (3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2503 เป็นต้นไป )
    (4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
    (5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
    (6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
    (7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
    (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
       (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
     nbsp; (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
       (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 55) )
ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 64) )
    (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ. 2525 เป็นต้นไป )
    (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
    (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับปีภาษี 2503 เป็นต้นไป )
    (12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
    (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
    (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ .2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป )
    (15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2505 เป็นต้นไป )
    (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ
    (17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 201 (พ.ศ. 2539) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 219 (พ.ศ. 2542) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 (พ.ศ. 2548) )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 (พ.ศ. 2548) )
    (18) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 206) พ.ศ. 2515 )
    (19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 206) พ.ศ. 2515 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2515 เป็นต้นไป )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.64/2539 )
    (20) (ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2525 มาตรา 5 ตั้งแต่ 28 ส.ค. 2525 เป็นต้นไป)
    (21) (ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ตั้งแต่ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป)
    (22) (ยกเลิกโดย พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 8 ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2529เป็นต้นไป)
    (23) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
    (24) เงินได้ของกองทุนรวม
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 ใช้บังคับปีภาษี 2518 เป็นต้นไป )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    (25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2533 ใช้บังคับ 3 ก.ย. 2533 เป็นต้นไป )
    มาตรา42 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40(1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
    ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
    มาตรา42 ตรีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
    ในกรณีที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2520 ใช้บังคับปีภาษี 2520 เป็นต้นไป )ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html


Key man Protection | แนวคิดทางบัญชี | กฏหมายคำสั้งสรรพกร | คำถามที่พบบ่อย | Promotion พิเศษ | เกี่ยวกับเรา



มาตรา 40 เงินได้พึงประเมิน



        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้       ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 40  เงินได้พึงประเมิน หรือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ


มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
    (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.23/2533 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
    (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 29/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.124/2546 )
    (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )
    (4) เงินได้ที่เป็น
    (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (30))
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 30/2538 )
    (ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2525 เป็นต้นไป )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
    ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับปีภาษี 2523 เป็นต้นไป )
    (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
    (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
    (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
    (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือ โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ข้อ 2 (30) )
    (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
    (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.1/2526 )
    (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
    ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )
    (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
    (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
    (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544)
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของ ปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
    มาตรา 40 ทวิ ผู้ใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ส่งไปนั้น
    ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
    (1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
    (2) เป็นของผ่านแดน
    (3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
    (4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

Key man Protection | แนวคิดทางบัญชี | กฏหมายคำสั้งสรรพกร | คำถามที่พบบ่อย | Promotion พิเศษ | เกี่ยวกับเรา



มาตรา 39 เงินได้พึงประเมิน


        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้        ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 39 เงินได้พึงประเมิล ได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ 
      มาตรา 38 ภาษีเงินได้นี้อยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดนี้
    มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
    " เงินได้พึงประเมิน " หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายระยะเวลาชำระภาษีสำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการโดยไม่มีความผิด )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 9/2528 )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.7/2528 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.23/2533 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    " บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน " หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
    (1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
    (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
    (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
    (4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
    " ปีภาษี " หมายความว่า " ปีประดิทิน "
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )
    " บริษัทจดทะเบียน " หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    " บริษัทจัดการกิจการลงทุน " หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน
    " กองทุนรวม " หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งเข้าร่วมในกองทุนซึ่งจัดตั้งและดำเนินการโดยบริษัทจัดการกิจการลงทุน ตามโครงการในการประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2518 เป็นต้นไป )
    "บริษัทเงินทุน " หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป )
    "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล " หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง
    (1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
    (2) กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ 31 ธ.ค. 2521 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
    (3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข)
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) )
    (4) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป )
    " ขาย" หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
    (1) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาหรือมูลค่าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 121) พ.ศ. 2525 )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่4/2526 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.100/2543 )
    (2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
    " ราคาขาย " หมายความรวมถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดตามมาตรา 49 ทวิ
    " สิทธิครอบครอง " หมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครองอสังหาริมทรัพย์
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ. 2525 เป็นต้นไป )
ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

Key man Protection | แนวคิดทางบัญชี | กฏหมายคำสั้งสรรพกร | คำถามที่พบบ่อย | Promotion พิเศษ | เกี่ยวกับเรา




มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ



        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้       ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 65 ทวิ การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ เกี่ยวกับเงินได้พึ่งประเมิน หรือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ

มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(1) เงินสำรองต่าง ๆ นอกจาก
    (ก) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว
       ในกรณีต้องใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใดไม่ว่าเต็มจำนวนหรือบางส่วน เงินที่ใช้ไปเฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินสำรองตามวรรคก่อนสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น จะถือเป็นรายจ่ายไม่ได้
       ในกรณีเลิกสัญญาตามกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใด ให้นำเงินสำรองตามวรรคแรก จำนวนที่มีอยู่สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น กลับมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกสัญญา
       (ข) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว และเงินสำรองที่กันไว้นี้จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป )
       (ค) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
       เงินสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง และได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ต่อมาหากมีการตั้งเงินสำรองประเภทดังกล่าวลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2540 เป็นต้นไป )
    (2) เงินกองทุน เว้นแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่ง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2526 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533) )
    (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศลเว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2535 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.52/2537 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
    (4) ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2522 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
    (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 )
    (6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2526 เป็นต้นไป )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 10/2528 )
(6 ทวิ) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 ภาษีซื้อที่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (4) หรือภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534 )
    (7) การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร
    (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้
    (10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง
    (11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง
    (12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ หรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิ ยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป )
ดูประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.58/2538 )
    (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
    (14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 13/2529 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.13/2528 )
    (15) ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    (16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ
    (7) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ
    (18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลัง 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 )
    (19) รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว
    (20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1)ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลัง 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 )