วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 39 เงินได้พึงประเมิน


        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้        ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 39 เงินได้พึงประเมิล ได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ 
      มาตรา 38 ภาษีเงินได้นี้อยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดนี้
    มาตรา 39 ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
    " เงินได้พึงประเมิน " หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายระยะเวลาชำระภาษีสำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการโดยไม่มีความผิด )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 9/2528 )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.7/2528 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.23/2533 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    " บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน " หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
    (1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
    (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
    (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
    (4) บุคคลเกินกว่ากึ่งจำนวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่ง เป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง
    " ปีภาษี " หมายความว่า " ปีประดิทิน "
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )
    " บริษัทจดทะเบียน " หมายความว่า บริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    " บริษัทจัดการกิจการลงทุน " หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน
    " กองทุนรวม " หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งเข้าร่วมในกองทุนซึ่งจัดตั้งและดำเนินการโดยบริษัทจัดการกิจการลงทุน ตามโครงการในการประกอบกิจการจัดการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2518 เป็นต้นไป )
    "บริษัทเงินทุน " หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน
( ประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 10) ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป )
    "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล " หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึง
    (1) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
    (2) กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ 31 ธ.ค. 2521 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
    (3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข)
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 3 ก.ค. 2525 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 )
ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) )
    (4) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป )
    " ขาย" หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง
    (1) ขาย แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาหรือมูลค่าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 121) พ.ศ. 2525 )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่4/2526 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.100/2543 )
    (2) การโอนโดยทางมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
    " ราคาขาย " หมายความรวมถึง ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดตามมาตรา 49 ทวิ
    " สิทธิครอบครอง " หมายความถึง สิทธิครอบครองในการถือครองอสังหาริมทรัพย์
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ. 2525 เป็นต้นไป )
ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

Key man Protection | แนวคิดทางบัญชี | กฏหมายคำสั้งสรรพกร | คำถามที่พบบ่อย | Promotion พิเศษ | เกี่ยวกับเรา