วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ



        การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย Key man หรือบุคคลสำคัญของธุรกิจ ก็คือ กรรมการซึ่งกรรมการส่วนใหญ่ก็คือเจ้าของธุรกิจเองดังนั้น  การทำประกันบุคคลสำคัญ Key man จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจในประเทศไทย เพราะ การดำเนินธุรกิจทั้งการลงทุน แนวคิดการบริหารองค์กร แนวคิดทางการตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของคู้ค้าทางธุรกิจ ก็มีความเสื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นหาก ธุรกิจสูญเสีย กรรมการซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นได้จากการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      

      ดังนั้นการทำประกันบุคคลสำคัญ Key man ในประเทศไทย จึงเกิดจากเหตุผลหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. คุ้มครองธุรกิจ ป้องการกันการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจ
2. นำใบเสร็จของการทำประกันชีวิต มาใช้ เป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในปริมาณที่เหมาะสมและสรรพกรยอมรับได้       ประกันบุคคลสำคัญหรือประกัน Key man มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กฏหมายมาตรา 65 ทวิ การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ เกี่ยวกับเงินได้พึ่งประเมิน หรือ เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ

มาตรา 65 ตรี รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(1) เงินสำรองต่าง ๆ นอกจาก
    (ก) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว
       ในกรณีต้องใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใดไม่ว่าเต็มจำนวนหรือบางส่วน เงินที่ใช้ไปเฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินสำรองตามวรรคก่อนสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น จะถือเป็นรายจ่ายไม่ได้
       ในกรณีเลิกสัญญาตามกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใด ให้นำเงินสำรองตามวรรคแรก จำนวนที่มีอยู่สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตรายนั้น กลับมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เลิกสัญญา
       (ข) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว และเงินสำรองที่กันไว้นี้จะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปีถัดไป
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป )
       (ค) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้จากการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฏในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
       เงินสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นตามวรรคหนึ่ง และได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ต่อมาหากมีการตั้งเงินสำรองประเภทดังกล่าวลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลงซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2540 เป็นต้นไป )
    (2) เงินกองทุน เว้นแต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่ง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2526 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533) )
    (3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศลเว้นแต่รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2535 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.52/2537 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
    (4) ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2522 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.56/2538 )
    (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.61/2539 )
    (6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 2526 เป็นต้นไป )
ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 10/2528 )
(6 ทวิ) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 ภาษีซื้อที่ต้องห้ามนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (4) หรือภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นไป )
ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2534 )
    (7) การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร
    (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้
    (10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง
    (11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง
    (12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ หรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิ ยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่ต้องยื่นใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป )
ดูประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 35/2540 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.58/2538 )
    (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
    (14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 13/2529 )
ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.13/2528 )
    (15) ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    (16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ
    (7) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 65 ทวิ
    (18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลัง 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 )
    (19) รายจ่ายใดๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว
    (20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1)ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลัง 10 ก.พ. 2496 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 315) พ.ศ. 2540 )